เหตุผลของคนนอนไม่หลับ และวิธีการแก้ไข

การนอนหลับให้เพียงพอเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิต ​​การนอนไม่หลับเป็นโรคการนอนหลับที่พบบ่อยซึ่งอาจทําให้หลับยาก หรือทําให้ตื่นเช้าเกินไป และไม่สามารถกลับไปนอนได้ หรือแม้แต่รู้สึกเหนื่อยเมื่อตื่นนอน นอนแล้วแต่ยังรู้สึกว่านอนไม่เพียงพอ และง่วงนอนระหว่างวัน 

การนอนไม่เพียงพอทำให้ระดับพลังงาน และอารมณ์แย่ลง  นอกจากนี้ยังรวมถึงสุขภาพ ประสิทธิภาพการทํางาน และคุณภาพชีวิตด้วยบริมาณการนอนมากแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละวัย เช่นผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ต้องการ 7 ถึง 8 ชั่วโมงต่อคืน

แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ผู้ใหญ่จํานวนมากจะมีอาการนอนไม่หลับระยะสั้น (เฉียบพลัน) ซึ่งกินเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ โดยปกติจะเป็นผลมาจากความเครียดหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ แต่บางคนมีอาการนอนไม่หลับระยะยาว (เรื้อรัง) ที่กินเวลาหนึ่งเดือนขึ้นไป การนอนไม่หลับอาจเป็นปัญหาหลัก หรืออาจลองไปปรึกษาแพทย์ก็ได้

ประเภทของการนอนไม่หลับ

ประเภทของการนอนไม่หลับแบ่งเป็นสองประเภทหลักๆ คือ

1.อาการนอนไม่หลับเฉียบพลัน (Acute Insomnia)

การนอนไม่หลับประเภทนี้เกิดขึ้นระยะสั้น และมักเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์เครียดในชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาส่วนตัว  ความเครียด การนอนไม่หลับเฉียบพลันนั้นจะอยู่เป็นเวลาสองสามวัน หรือหลายสัปดาห์ แต่ไม่เกินสามเดือน โดยทั่วไปจะหายได้โดยไม่ต้องรักษาเมื่อมีการจัดการกับความเครียดนั้นแล้ว

2.อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic insomnia)

อาการนอนไม่หลับเรื้อรังคือความผิดปกติของการนอนหลับอย่างต่อเนื่อง โดยมีลักษณะของการนอนหลับยาก อาการนอนไม่หลับเรื้อรังอาจเกิดขึ้นได้บ่อยกว่า และจะอยู่อย่างน้อย 3 คืนต่อสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือนหรืออาจนานกว่านั้น อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ รวมถึงสภาวะทางอารมณ์ หรือความเครียดที่กำลังดำเนินอยู่ภาวะนี้อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการทำงานในแต่ละวัน อารมณ์ และคุณภาพชีวิตโดยรวม

สาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ

1. ปัญหาเกี่ยวกับอาการป่วย

บางคนอาจมีปัญหาเรื่องอาการป่วย เช่น อาการปวดเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคข้ออักเสบ ปัญหาระบบทางเดินอาหาร หยุดหายใจขณะหลับ และปัญหาโรคอื่นๆ เพราะอาจรบกวนการนอนหลับ และส่งผลให้นอนไม่หลับเรื้อรังได้

2. ความผิดปกติด้านสุขภาพจิต

สภาวะต่างๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล โรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ  post-traumatic stress disorder (PTSD) หรือโรคไบโพลาร์ มักเกิดขึ้นร่วมกับการนอนไม่หลับเรื้อรัง เนื่องจากอาจส่งผลต่อรูปแบบการนอนหลับได้

3.นิสัยการนอนหลับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

สุขอนามัยในการนอนหลับที่ไม่ดี เช่น ตารางการนอนหลับที่ผิดปกติ การงีบหลับตอนกลางวันมากเกินไป หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน อาจรบกวนวงจรการนอนหลับ และการตื่นตามธรรมชาติของร่างกาย ส่งผลให้นอนไม่หลับได้

4.ปัจจัยด้านความเครียด และไลฟ์สไตล์

ความเครียดเรื้อรัง ความกดดันจากการทำงาน ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ความกังวลทางการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต อาจนำไปสู่ปัญหาการนอนหลับอย่างต่อเนื่อง

5.ยา หรืออาหารเสริมบางชนิด

ยาหรือสารบางชนิด เช่น ยากระตุ้น ยาแก้ซึมเศร้า คอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือยาที่ส่งผลต่อระบบประสาท อาจรบกวนการนอนหลับ และส่งผลให้นอนไม่หลับเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้นอนไม่หลับ

แม้ว่าสาเหตุของการนอนไม่หลับไม่ได้มีสาเหตุเดียว แต่มีปัจจัยอื่นๆของแต่ละบุคคลรวมด้วย ได้แก่:

  • อายุที่มากขึ้น
  • อาการหงุดหงิด หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลง
  • ความกังวลต่อสิ่งต่างๆก่อนนอน
  • ความผิดปกติของการนอนหลับอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • สภาพแวดล้อมในห้องนอน
  • คนที่ดื่มแอลกอฮอล์

เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเล็กน้อยก็ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น

การเปลี่ยนนิสัยการนอนหลับเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทำได้ง่าย วิธีการดังต่อไปนี้สามารถทำให้เรานอนหลับง่ายขึ้น

  • ควบคุมแสง: พยายามทําให้ห้องนอนทั้งมืด และเงียบ 
  • ปรับนิสัยการกิน: หลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อใหญ่ที่ใกล้เวลานอนมากเกินไป และหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดอย่างน้อยสองชั่วโมงก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้อยกว่าหกชั่วโมงก่อนนอนหลับ 
  • ไม่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อนนอนสัก 1 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น
  • ผ่อนคลาย สัก 30 นาทีก่อนนอน

ภาวะแทรกซ้อนของอาการนอนไมหลับ

การนอนไม่หลับ อาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ต่อสุขภาพ และทางด้านจิตใจ นั้นเป็นเหตุให้ควรเอาใจใส่ การอดนอนยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงได้แก่:

  • อาการซึมเศร้า
  • ความวิตกกังวล
  • ความดันโลหิตสูง 
  • ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ
  • โรคอ้วน.

การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับเป็นอย่างไร?

การวินิฉัยขึ้นอยู่กับสถานการณ์โดยจะทำกาวินิฉัยดังต่อไปนี้ 

1.การตรวจร่างกาย

หากไม่ทราบสาเหตุของการนอนไม่หลับ แพทย์จะทําการร่างกาย เช่น การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาปัญหาต่อมไทรอยด์หรือภาวะอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการนอนหลับไม่ดี นอกจากนี้ยังสอบถามคําถามเกี่ยวกับการนอนหลับต่างๆ หรือกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับการตื่นนอน และการนอนไม่หลับ 

2.ทดสอบการนอนหลับ

แพทย์อาจตรวจการนอนหลับที่เรียกว่า polysomnogram อาจต้องให้ใช้เวลาทั้งคืนอยู่ที่ศูนย์การนอนหลับโดยเฉพาะ โดยจะมีเซ็นเซอร์บนหนังศีรษะ ใบหน้า เปลือกตา หน้าอก แขนขา และนิ้วเดียว เซ็นเซอร์ตรวจสอบการทํางานของคลื่นสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจน และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นก่อน ระหว่าง และหลังการนอนหลับ

ส่วนการตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) สะดวกสบายมากกว่า เพราะสามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยจะใช้อุปกรณ์ตรวจวัดที่คล้ายกับหน้ากากหรืออุปกรณ์เพื่อประเมินการหลับในชั่วโมงปกติ ซึ่งใช้เซ็นเซอร์ จะะบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ระดับออกซิเจนในเลือด การหายใจ การหลับดึก และการเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างการนอนหลับ โดยแพทย์จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับการบันทึกข้อมูล

แนวทางการรักษา

การบำบัดด้วยวิธี CBT-I (Cognitive Behavioral Therapy for Insomnia)

เป็นการบำบัดเปลี่ยนวิธีทางความคิด และความเข้าใจพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการนอน โดยนักจิตวิทยาที่ได้รับใบอนุญาต และไม่ใช้ยาเข้าช่วย จะเป็นการบำบัดด้วยวิทยาศาสตร์ของการนอนหลับร่วมกับหลักการทางจิตวิทยาเข้าร่วม

การใช้ยา

ยานอนหลับตามใบสั่งแพทย์สามารถช่วยให้นอนหลับ ได้ แต่แพทย์มักไม่แนะนําให้ใช้ยานอนหลับนานกว่า 2-3 สัปดาห์ แต่ยาหลายชนิดก็ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในระยะยาว

การรักษา Homeopathic

บางคนที่เป็นโรคนอนไม่หลับอาจสนใจที่จะทางเลือกอื่นๆ เช่น เมลาโทนิน หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โยคะ ฝังเข็ม หรืออโรมาเธอราพี

ขอบคุณข้อมูลจาก :  Sleep foundation, Myoclinic

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *