ตื่นผวา สะดุ้งตกใจกลางดึกบ่อยๆ เป็นเพราะอะไร?

หลายคนสงสัย และเคยเป็นอยู่บ่อยๆ ในการสะดุ้งตื่นตกใจกลางดึก ซึ่งก็งงกับตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้น จริงๆ แล้วการตื่นกลางคืนมีคนมากกว่า 35% ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้มดังต่อไปนี้ เช่น การกรนของคู่นอนของคุณ อุณหภูมิห้องที่ไม่เหมาะสม หรือเสียงต่างๆที่เกิดจากสภาพแวดล้อม 

แต่การที่นอนสะดุ้งตื่นตกใจ  หรือที่เรียกว่า Hypnic jerk อาการนี้จะเป็นเกือบทุกวัน และเป็นบ่อยในช่วงเวลาเดียวกัน ถ้าใครมีอาการแบบนี้ อาจมีปัญหาเรื่องการนอนหลับได้ แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิฉัยต่อไป ในบทความนี้จะพามารู้จาก Hypnic jerk ตื่นผวา สะดุ้งตกใจ และโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่เชื่อมโยมกัยอาการนอนสะดุ้งตกใจกลางดึก

ทำความรู้จักกับอาการนอนกระตุก

อาการสะดุ้งกลางดึก หรือที่เรียกว่า Hypnic jerk เป็นการกระตุกของกล้ามอย่างน้อย1 มัด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราหลับไป มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในการนอนหลับระยะที่ 1 หรือ 2 และหายไปในระยะที่ 3 อาการกระตุกเกิดจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อประเภทหนึ่งที่เรียกว่ากล้ามเนื้อไมโอโคลนัส (myoclonus) อีกนัยหนึ่งอาการ Hypnic jerk เกิดจาก ปัจจัยต่างๆ ด้วยเช่นกัน เช่น ปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไป ความเครียดทางร่างกาย และอารมณ์ ความรู้สึก 

การลดความเครียดหรือเพิ่มความผ่อนคลายก่อนการนอนหลับอาจช่วยลดการเกิด Hypnic jerk ได้บ้างครับ เช่น การทำโยคะ การฝึกสติ (mindfulness) หรือการใช้เทคนิคการหายใจเพื่อผ่อนคลายลดความเครียดก่อนการนอนหลับ แต่ทั้งนี้ถ้ามีความกังวลหรือสงสัยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อคำปรึกษา และข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมครับ

แล้วทำไมต้องตื่นกลางดึกทุกคืน?

การสะดุ้งบ่อยและการตื่นกลางดึกอาจมีสาเหตุหลายประการ อาจเกี่ยวข้องกับความเครียด วิตกกังวล หรือแม้แต่ความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) สาเหตุที่เป็นไปได้บางประการมีดังนี้

1. ความเครียด และความวิตกกังวล 

ระดับความเครียด หรือความวิตกกังวล สามารถส่งผลเสียต่อร่างกาย ส่งผลต่อระบบกล้ามเนื้อ แระดูก ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ หลอดเลือด และความเครียดที่สามารถทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง ทำให้คุณไวต่อเสียงรบกวนvหรือสิ่งรบกวนระหว่างการนอนหลับมากขึ้น

2.ความผิดปกติของการนอนหลับ

สภาวะต่างๆ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งการหายใจถูกขัดจังหวะระหว่างการนอนหลับ อาจทำให้ตื่นขึ้นอย่างกะทันหันได้ ความผิดปกติของการนอนหลับอื่นๆ เช่น อาการฝันผวาหรือความผิดปกติของพฤติกรรมการนอนหลับแบบ REM อาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือส่งเสียงอย่างกะทันหันระหว่างการนอนหลับ

3. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

การเสียงดัง หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันของสภาพแวดล้อม (เช่น ความผันผวนของอุณหภูมิ หรือแสงไฟ) หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวของคู่นอนก็อาจทำให้ตื่นตกใจได้

4. ยา และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่นๆ

ยา หรืออาหารเสริมบางชนิดอาจรบกวนรูปแบบการนอนหลับ และทำให้เกิดการตื่นสะดุ้งตอนดึกได้

5.อายุที่มากขึ้น

การตื่นนอนกลางดึกของคนวัยกลางคน หรือผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มตื่นขึ้นในตอนกลางคืน และนอนหลับสั้นลง 

6.ฮอร์โมน

การเปลี่ยบแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้สะดุ้งตื่นในตอนกลางคืนได้ ตัวอย่างเช่นผู้หญิง ในระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างมีประจำเดือน หรือวัยหมดประจำเดือน 

7.ไลฟ์สไตล์

ไลฟ์สไตล์ส่งผลต่อการนอนหลับได้เช่นกัน เช่นการเล่นหน้าจอมือถือก่อนนอนหลับ หรือคนที่สูบบุหรี่ก็ส่งผลต่อการนอนหลับเช่นกัน

ตัวอย่างโรคแทรกซ้อนอื่นๆเกี่ยวกับการนอนหลับ

1.​​ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นความผิดปกติของการหายใจที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับทั่วไปที่ขัดขวางการหายใจในเวลากลางคืนผู้ที่มีอาการนี้มักจะกรนอย่างหนัก และอาจตื่นขึ้นมาสําลักหรืออ้าปากค้าง โดยจะแบ่ง Sleep Apnea ได้ 2 ประเภทดังนี้

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) (OSA)) เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในปาก และลําคอมีอาการอ่อนลง ซึ่งจะปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน 
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับส่วนกลาง (Central sleep apnea ((CSA)) ความผิดปกติที่บุคคลหยุดหายใจซ้ำๆ ในเวลากลางคืน เกิดขึ้นเมื่อสมองหยุดส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจชั่วคราว

2. โรคลมหลับ (Narcolepsy)

เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับที่ทําให้รู้สึกเหนื่อยมากเกินไปในระหว่างวันแม้ว่าจะนอนหลับเพียงพอแล้วก็ตาม 

3.กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome(RLS)) 

ภาวะทางการนอนที่เกิดขึ้นเมื่อรู้สึกถึงความไม่สบาย หรือความกระวนกระวายในขาทั้งสอง เป็นอาการที่ทำให้รู้สึกว่าต้องการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าตัวเพื่อลดความไม่สบายอยู่ตลอดทั้งคืน

4.ความผิดปกติของการนอนหลับ (Parasomnias)

เป็นกลุ่มของพฤติกรรมการนอนหลับที่ผิดปกติซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ก่อนหลับ ระหว่างการนอนหลับ หรือในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างการนอนหลับ Parasomnias พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก แต่ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่เช่นกัน ซึ่งรวมถึงการเดินละเมอ การปัสสาวะในเตียง 

5.Excessive Sleepiness  (EDS)

สภาวะที่รู้สึกมีความต้องการที่จะนอนหลับมากเกินไปในช่วงเวลาของวัน คนที่มี EDS มักจะรู้สึกง่วงหรือต้องการที่จะหลับในช่วงเวลาที่ควรจะตื่นอยู่ แม้แต่หลังจากคุณได้นอนพักผ่อนเพียงพอในช่วงคืน

6.โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

เป็นอาการของภาวะนอนไม่หลับ หรือตื่นเช้าเร็วเกินไป และหลับต่อไม่ได้แล้ว หรืออาจเกิดจากความเครียด ความกังวล ภาวะซึมเศร้า หรือเป็นผลจากสภาวะทางร่างกายอื่นๆ

การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับเป็นอย่างไร?

การวินิฉัยขึ้นอยู่กับสถานการณ์โดยจะทำกาวินิฉัยดังต่อไปนี้ 

1.การตรวจร่างกาย

หากไม่ทราบสาเหตุของการนอนไม่หลับ แพทย์จะทําการร่างกาย เช่น การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาปัญหาต่อมไทรอยด์หรือภาวะอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการนอนหลับไม่ดี นอกจากนี้ยังสอบถามคําถามเกี่ยวกับการนอนหลับต่างๆ หรือกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับการตื่นนอน และการนอนไม่หลับ 

2.ทดสอบการนอนหลับ

แพทย์อาจตรวจการนอนหลับที่เรียกว่า polysomnogram อาจต้องให้ใช้เวลาทั้งคืนอยู่ที่ศูนย์การนอนหลับโดยเฉพาะ โดยจะมีเซ็นเซอร์บนหนังศีรษะ ใบหน้า เปลือกตา หน้าอก แขนขา และนิ้วเดียว เซ็นเซอร์ตรวจสอบการทํางานของคลื่นสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจน และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นก่อน ระหว่าง และหลังการนอนหลับ

ส่วนการตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) สะดวกสบายมากกว่า เพราะสามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยจะใช้อุปกรณ์ตรวจวัดที่คล้ายกับหน้ากากหรืออุปกรณ์เพื่อประเมินการหลับในชั่วโมงปกติ ซึ่งใช้เซ็นเซอร์ จะะบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ระดับออกซิเจนในเลือด การหายใจ การหลับดึก และการเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างการนอนหลับ โดยแพทย์จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับการบันทึกข้อมูล

แนวทางการรักษา

การบำบัดด้วยวิธี CBT-I (Cognitive Behavioral Therapy for Insomnia) 

เป็นการบำบัดเปลี่ยนวิธีทางความคิด และความเข้าใจพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการนอน โดยนักจิตวิทยาที่ได้รับใบอนุญาต และไม่ใช้ยาเข้าช่วย จะเป็นการบำบัดด้วยวิทยาศาสตร์ของการนอนหลับร่วมกับหลักการทางจิตวิทยาเข้าร่วม

การใช้ยา 

ยานอนหลับตามใบสั่งแพทย์สามารถช่วยให้นอนหลับ ได้ แต่แพทย์มักไม่แนะนําให้ใช้ยานอนหลับนานกว่า 2-3 สัปดาห์ แต่ยาหลายชนิดก็ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในระยะยาว

การรักษา Homeopathic

บางคนที่เป็นโรคนอนไม่หลับอาจสนใจที่จะทางเลือกอื่นๆ เช่น เมลาโทนิน หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โยคะ ฝังเข็ม หรืออโรมาเธอราพี

ขอบคุณข้อมูลจาก :  Sleep foundation, Myoclinic

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *