คุณมีปัญหาเหล่านี้ ใช่หรือไม่!
หากตัวคุณหรือคนรอบตัวมีอาการดังต่อไปนี้ อาจเป็นข้อบ่งชี้ให้สงสัยได้ว่า มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ
อาการเฝ้าระวัง
- นอนกรนเสียงดังมาก
- สำลักน้ำลายระหว่างนอน
- เมื่อตื่นพบว่าปากแห้ง คอแห้ง
- ปวดศีรษะ หรือ มึนศีรษะเมื่อตื่นนอน
ความเสี่ยงสูง!
- อาการสะดุ้งตื่น หรือ เหนื่อยหอบเพื่อหายใจระหว่างการนอนหลับ
- สังเกตเห็นการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ระหว่างการนอนหลับ
- รู้สึกนอนไม่อิ่มแม้ว่าจะนอนมาก
- ความดันโลหิตสูง
ทำไมต้องตรวจ Sleep test ?
ถ้าเราปล่อยให้ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับเกิดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะเกิดผลเสียกับร่างกายอย่างมาก เส้นเลือดปอดจะทำงานหนัก และสุดท้าย ความดันในช่องปอดจะสูง ซึ่งนำไปสู่ โรคทางหลอดเลือดทั่วร่างกายที่หัวใจและสมองในลำดับถัดมา ระบบการเผาผลาญพัง น้ำหนักขึ้น ไขมันในโลหิตสูง และภาวะดื้อต่ออินซูลินจะตามมา
ใครบ้างที่ควรตรวจ Sleep Test
หากท่านหรือคนใกล้ตัวของท่านมีปัญหาเหล่านี้ เช่น
- รู้สึกอ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้นเป็นประจำ ทั้งๆที่คิดว่านอนเพียงพอแล้ว
- มีอาการง่วงนอนตอนบ่ายเป็นประจำ
- มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูงที่ยังหาสาเหตุไม่ได้
- ท่านที่ไม่ได้มีอาการใดๆ แต่มีภาวะน้ำหนักเกิน และมองไม่เห็นคอของตนเอง
- สำหรับคู่นอนสังเกตเห็นว่านอนกรนหนักมาก พร้อมกับมีภาวะหยุดหายใจระหว่างกลางดึก
หากคุณมีการอาการเหล่านี้ควรพิจารณาตรวจการนอนหลับ
เพื่อตรวจว่าคุณเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่
ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ในระยะยาวได้
ตรวจการนอนหลับที่บ้านต่างจากโรงพยาบาลอย่างไร?
เราเข้าใจดีว่าการนอนในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับบางคน บริการตรวจคัดกรองอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาลให้ยุ่งยาก
ผู้เชี่ยวชาญของเราจะแนะนำคุณทุกขั้นตอนให้คุณสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย เมื่อคุณทำการทดสอบเสร็จแล้ว เพียงส่งอุปกรณ์กลับมา เราจะจัดทำรายงานโดยละเอียดภายใน 3 วัน นอนหลับให้สบาย แล้วที่เหลือให้เราดูแล!
ตรวจง่ายด้วยตนเอง ไม่วุ่นวาย
หน้าตาของชุดอุปกรณ์จะเป็นแบบนี้เลย ทุกอย่างจะแพคใส่กระเป๋าขนาดเล็กมา จนเราอาจจะแทบไม่เชื่อเลยว่า อุปกรณ์เพียงแค่จะสามารถชี้ชะตาคุณภาพการนอนของเราได้ขนาดนี้
- ตัวเครื่องวัดสีดำอันนี้ เราจะเห็นปลายสายด้านซ้าย อันนี้เรียกว่า Canula หรือออกซิเจนนั่นเอง เราจะเอาปลายสายนี้ติดไว้ที่จมูกของเราตอนนอน
- ตัวเครื่องสีดำจะมาพร้อมกับสายรัดให้อุปกรณ์อยู่ตรงกลางระหว่างราวนมทั้งสองข้าง เพื่อตรวจจับการเคลื่อนของเราในตอนกลางคืน
- และตัวสายสีฟ้าที่ต่อออกมาจากตัวเครื่องสีดำ ตัวนี้จะเป็นที่วัดออกซิเจนที่เราจะเอามาติดตรงปลายนิ้วมือเรา (เล็บ) ตลอดทั้งคืน เพื่อดูว่ามีภาวะออกซิเจนพร่องในระหว่างกลางดึกหรือไม่
ทุกอย่างสามารถทำได้ด้วยตนเองครับ โดยจะมีเจ้าหน้าที่โทรให้คำแนะนำอีกครั้ง
ข้อมูลเบื้องต้นในการเข้ารับบริการ
อาการนอนกรนมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- อาการนอนกรนธรรมดา ถือว่าไม่มีอันตรายมากนัก แต่ก็สร้างความรำคาญให้แก่คนที่นอนข้าง ๆ และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม
- อาการนอนกรนที่เป็นอันตราย คือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ร่วมด้วย จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว หากปล่อยทิ้งไว้จะเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น โรคความดันโลหิตสูง หัวใจวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
- ในช่วงที่นอนกรนดังขึ้นเรื่อยๆ จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่ลมหายใจเงียบไป นั่นคือหยุดหายใจขณะหลับชั่วขณะ
- สะดุ้งเฮือกตื่นขึ้นมาตอนนอน เหมือนสำลักน้ำลายตนเอง หรือฝันว่าจมน้ำ
- มีอาการง่วงผิดปกติในเวลากลางวัน แม้ว่าตอนกลางคืนจะนอนเยอะ
- ตื่นมาแล้วปวดมึนศีรษะ ต้องการนอนต่ออีกเป็นประจำ
- ไม่มีสมาธิจดจ่อ หลงลืมง่าย
ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับการตรวจ sleep test
– หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
– งดการออกกำลังกายหนัก ๆ หลังเที่ยงเป็นต้นไป
– ไม่ใช้น้ำมันหรือครีมแต่งผม
– หากใช้ยารักษาโรคประจำตัวอยู่ เช่น ยาลดความดัน ยารักษาเบาหวาน และยานอนหลับ เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเริ่มตรวจ
ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับการตรวจ sleep test
– หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
– งดการออกกำลังกายหนัก ๆ หลังเที่ยงเป็นต้นไป
– ไม่ใช้น้ำมันหรือครีมแต่งผม
– หากใช้ยารักษาโรคประจำตัวอยู่ เช่น ยาลดความดัน ยารักษาเบาหวาน และยานอนหลับ เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเริ่มตรวจ