หากท่านหรือคนใกล้ตัวของท่านมีปัญหาเหล่านี้ เช่น

  • รู้สึกอ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้นเป็นประจำ ทั้งๆที่คิดว่านอนเพียงพอแล้ว
  • มีอาการง่วงนอนตอนบ่ายเป็นประจำ
  • มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูงที่ยังหาสาเหตุไม่ได้
  • ท่านที่ไม่ได้มีอาการใดๆ แต่มีภาวะน้ำหนักเกิน และมองไม่เห็นคอของตนเอง
  • สำหรับคู่นอนสังเกตเห็นว่านอนกรนหนักมาก พร้อมกับมีภาวะหยุดหายใจระหว่างกลางดึก

ถ้าหากมี “อาการเหล่านี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ถ้าถือว่ามีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ”

มาถึงตอนนี้หลายท่านอาจจะยังไม่แน่ใจว่า “ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ” คืออะไร ผมจะมาท่านไปความรู้จักกันครับ ตามผมมาเลย


ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ

ทุกๆครั้งที่เรานอนหลับไปแล้ว (หลับสนิท) กล้ามเนื้อทั่วทั้งร่างกายเราจะอ่อนตัวลง ถามว่ารู้ได้อย่างไร เราก็ลองยกแขน ยกขาเพื่อนร่วมเตียงท่านดู ก็จะพบว่าเขาแทบไม่มีปฎิกิริยาตอบสนองใดๆ และถ้าเรามาวัดความดันโลหิตก็จะพบว่าความดันจะลดลงกว่าช่วงกลางวัน (หัวใจบีบเบาลง) และ การหายใจก็จะเบาลง

ทั้งหมดเป็นระบบของร่างกายที่ทำให้ร่างกายได้พักผ่อนนั่นเอง แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นข้อเสียอย่างมากเพราะว่า

  1. กล้ามเนื้อที่อ่อนตัวลงทั้งร่างกาย มันไม่ได้เจาะจงแค่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งครับ แต่มันอ่อนลงทั้งร่างกาย และกล้ามเนื้อตรงบริเวณคอของเรา รวมถึงลิ้นของเราเองก็จะอ่อนตัวลงด้วย
  2. ซึ่งการที่กล้ามเนื้อที่อ่อนลงนี่เองที่ทำให้ มันมีโอกาสสูงมากที่จะไปอุดทางเดินหายใจของเราในระหว่างนอนหลับนั่นเอง และในคนที่มีทางเดินหายใจที่คับแคบอยู่แล้ว นั่นก็คือทางเดินหายใจของท่านจะถูกบดบัง หรือถูกปิดสนิทในเวลากลางคืนนั่นเอง และนั่นคือที่มาของเสียงกรนก่อนที่จะเงียบไป เสียงกรนคือเสียงที่ลมวิ่งผ่านพื้นที่รูที่แคบลง และเสียงที่หายไปคือการหยุดหายใจนั่นเอง

ก่อนจะไปต่อ เราต้องมาทำความเข้าใจของ ทางเดินหายใจของเราในช่วงกลางคืนก่อนระหว่าง คนปกติ กับ คนที่มีแนวโน้มจะทางเดินหายใจตีบกัน

แสดงท่อหายใจของคนปกติ (ภาพบน) ลมจะยังสามารถผ่านเข้าไปยังท่อหายใจและไปยังปอดได้ แม้จะอยู่ในท่านอน แต่ท่อทางเดินหายใจจะตีบในคนที่ลิ้นลงไปกดทับปิดท่อทางเดินหายใจไว้ (ภาพล่าง)
แสดงความรุนแรงของโอกาสการตีบของทางเดินหายใจ จากคนปกติ Class 1 ไปจนถึง Class 4 (Mallampati Score)

ภาพที่ 1 แสดงท่อหายใจของคนปกติ (ภาพบน) ลมจะยังสามารถผ่านเข้าไปยังท่อหายใจและไปยังปอดได้ แม้จะอยู่ในท่านอน แต่ท่อทางเดินหายใจจะตีบในคนที่ลิ้นลงไปกดทับปิดท่อทางเดินหายใจไว้ (ภาพล่าง)

ภาพที่ 2 แสดงความรุนแรงของโอกาสการตีบของทางเดินหายใจ จากคนปกติ Class 1 ไปจนถึง Class 4 (Mallampati Score)

และสิ่งที่ Sleep test จะทำก็คือ เราจะค้นหาว่าการนอนหลับของเรานั้นมีภาวะทางเดินหายใจตีบแคบจนทำให้เรามีภาวะหยุดหายใจหรือไม่นั่นเอง

โรคหยุดหายใจขณะหลับที่มาร่วมกับอาการนอนกรนเป็นโรคที่อันตราย และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้อาจให้คนใกล้ชิดที่นอนด้วยช่วยกันสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น หรือทำ Home Sleep Test เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที


อันตรายของภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ

ถ้าเราปล่อยให้ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับเกิดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะเกิดผลเสียกับร่างกายอย่างมาก

  • เส้นเลือดปอดจะทำงานหนัก และสุดท้ายความดันในช่องปอดจะสูง (Pulmonary Hypertension) ซึ่งนำไปสู่โรคทางหลอดเลือดทั่วร่างกายที่หัวใจและสมองในลำดับถัดมา
  • ระบบการเผาผลาญพัง น้ำหนักขึ้น ไขมันในโลหิตสูง และภาวะดื้อต่ออินซูลินจะตามมา
  • ยังมีอีกมากมายแต่ขอกล่าวเพียงเท่านี้

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) คืออะไร?

Sleep Test หรือที่เรียกว่าการตรวจการนอนหลับ เป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อวัดและประเมินคุณภาพการนอนหลับของบุคคล ซึ่งมักจะใช้ในการวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะนอนกรน (Insomnia) หรือ ภาวะตื่นตอนกลางคืน (Sleep Apnea) ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไปและคุณภาพชีวิตของบุคคล

การตรวจการนอนหลับทั่วไปใช้เครื่องมือที่อยู่ในรูปแบบของอุปกรณ์ที่สวมใส่ในระหว่างการนอน เช่น อุปกรณ์ตรวจการหายใจในระหว่างการนอน (Polysomnography) ซึ่งประกอบด้วยเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อวัดการหายใจ การหมุนตัว ระดับความออกซิเจนในเลือด รวมถึงกิจกรรมสมองและการเคลื่อนไหวของตาในระหว่างการนอน นอกจากนี้ยังมีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องสวมใส่เพื่อวัดระดับความหลับและการตื่นของผู้รับการทดสอบ

โดยการตรวจการนอนหลับในอดีตจะทำกันในโรงพยาบาลเป็นหลัก ซึ่งสร้างไม่สะดวกสบายให้กับคนไข้ (หรือคนปกติ) เพราะเราจะต้องไปนอนที่โรงพยาบาลทั้งๆที่อาจจะไม่ได้ป่วย และเครื่องไม้เครื่องมือที่จะมาติดตัวเราจนเราอาจจะรำคาญมันมากๆ ปัจจุบันเราจึงมีการตรวจการนอนทางเลือกใหม่ที่

การตรวจสะดวกสบาย สามารถทำที่บ้านได้ แปลผลการตรวจเบื้องต้นได้เลย คัดกรองได้ทันทีว่ามีภาวะหยุดหายใจหรือไม่ และที่สำคัญราคาไม่แพง

การตรวจการนอนแบบนี้เรียกว่า การตรวจการนอนที่บ้าน (Home Sleep Test) นั่นเองครับ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินและวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับได้ ซึ่งจะช่วยในการกำหนดการรักษาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มคุณภาพการนอนหลับและสุขภาพทั่วไป

การตรวจการนอนที่บ้านทำได้สะดวก และมีเครื่องมือไม่มาก สามารถติดตั้งเครื่องมือได้ด้วยตนเอง

การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test)

  1. สถานที่ จะทำในสภาพแวดล้อมที่คุณรู้จักและสบายกว่า คุณจะตรวจการนอนหลับได้ในบ้านของคุณเอง ไม่ต้องเข้าพักในโรงพยาบาล ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดและความไม่สะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยในโรงพยาบาล
  2. การตรวจวัด ใช้อุปกรณ์ตรวจวัดที่คล้ายกับหน้ากากหรืออุปกรณ์เครื่องประเมินการหลับในชั่วโมงปกติ ซึ่งใช้เซ็นเซอร์และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อวัดและบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ระดับออกซิเจนในเลือด การหายใจ การหลับดึก และการเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างการนอนหลับ โดยอุปกรณ์เหล่านี้มีขนาดเล็กและสามารถพกพาได้ง่าย
  3. ความสะดวกสบาย ให้คุณสามารถนอนในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยและสบายๆ ได้ ไม่ต้องมีผู้ปฏิบัติงานดูแลตลอดเวลาเหมือนในโรงพยาบาล นอกจากนี้คุณยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพักในโรงพยาบาล

มาดูหน้าตาของอุปกรณ์ตรวจการนอนกัน

เซ็ตอุปกรณ์ตรวจการนอนที่บ้านด้วยตนเอง (Home Sleep Test)

หน้าตาของชุดอุปกรณ์จะเป็นแบบนี้เลย ทุกอย่างจะแพคใส่กระเป๋าขนาดเล็กมา จนเราอาจจะแทบไม่เชื่อเลยว่า อุปกรณ์เพียงแค่จะสามารถชี้ชะตาคุณภาพการนอนของเราได้ขนาดนี้ โดยอุปกรณ์นี้จะมีชื่อว่า ResMed ApneaLink Air ครับ ถ้ามองจากภาพ

  1. ตัวเครื่องวัดสีดำอันนี้ อันนี้ถือเป็นหัวใจของการตรวจเลยครับ เราจะเห็นปลายสายด้านซ้าย อันนี้เรียกว่า Canula หรือออกซิเจนนั่นเอง เราจะเอาปลายสายนี้ติดไว้ที่จมูกของเราตอนนอนนั่นเองครับ
  2. ตัวเครื่องสีดำจะมาพร้อมกับสายรัดให้อุปกรณ์อยู่ตรงกลางระหว่างราวนมทั้งสองข้าง เพื่อตรวจจับการเคลื่อนของเราในตอนกลางคืน เช่น เราพลิกตัวกี่ครั้ง เราอยู่ในท่านอนตะแคงซ้ายขวา กี่นาทีต่อคืนเป็นต้น
  3. และตัวสายสีฟ้าที่ต่อออกมาจากตัวเครื่องสีดำ ตัวนี้จะเป็นที่วัดออกซิเจนที่เราจะเอามาติดตรงปลายนิ้วมือเรา (เล็บ) ตลอดทั้งคืน เพื่อดูว่ามีภาวะออกซิเจนพร่องในระหว่างกลางดึกหรือไม่

ทุกอย่างสามารถทำได้ด้วยตนเองครับ โดยจะมีเจ้าหน้าที่โทรให้คำแนะนำอีกครั้งเมื่อได้รับเครื่อง


ตรวจการนอนแล้ว จะบอกอะไรกับเราบ้าง

มีค่าผลการตรวจมากมายที่เราจะทราบ แต่ผมจะเล่าเฉพาะส่วนทุกคนต้องรู้กันครับ ค่าผลตรวจที่ผมอยากทราบจะมีไม่กี่อย่างดังนี้คือ

  1. ลมหายใจที่ผ่านเข้าออก (Air Flow) โดยตรวจวัดร่วมกับการเคลื่อนไหวของทรวงอก ตัวนี้จะเป็นตัวบอกเพื่อตรวจหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  2. เปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) เพื่อดูว่าขณะนอนหลับ สมองและหัวใจมีการขาดออกซิเจนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
  3. ท่าทางการนอน เพื่อดูว่าในแต่ละท่านอน เช่น นอนหงาย ตะแคงซ้าย ขวา มีการกรนหรือหยุดหายใจมากน้อยเพียงใด ท่านอนนี้สำคัญมากเพราะบางคนจะมีอาการเมื่อตะแคง บางคนมีอาการแม้กระทั่งท่านอนตะแคง
  4. ค่าจำนวนครั้งในการกรนในตลอดทั้งคืน
  5. ค่า AHI หรือดัชนีการหยุดหายใจ รวมกับการหายใจแผ่ว(AI+HI) หน่วยเป็น ครั้งต่อชั่วโมง

ค่า AHI ค่าที่คุณต้องรู้จัก

ปลายทางของการตรวจ เราจะทำเพื่อดู ค่าที่เรียกว่า AHI (Apnea-Hypopnea Index) ซึ่งจะเป็นส่วนในการวินิจฉัย ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea) มีการกำหนดค่าเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกความรุนแรงของอาการดังนี้

AHI (Apnea-Hypopnea Index) แปลเป็นไทยได้แบบเข้าใจง่ายๆคือ ในทุกๆ 1 ชั่วโมงของการนอนหลับสนิทของเรา เรามีภาวะหยุดหายใจ (apnea) หรือ หายใจแผ่ว (hypopnea) กี่ครั้งในชั่วโมงนั้นๆ

  • AHI น้อยกว่า 5: ถือว่า ปกติ แปลว่าคนปกติก็หยุดหายใจได้แต่ห้ามเกิน 5 ครั้งต่อชั่วโมง
  • AHI ระหว่าง 5-15: ถือว่ามีอาการในระดับเล็กน้อย (mild sleep apnea)
  • AHI ระหว่าง 15-30: ถือว่ามีอาการระดับปานกลาง (moderate sleep apnea)
  • AHI มากกว่า 30: ถือว่ามีอาการระดับรุนแรง (severe sleep apnea)

ค่าเกณฑ์นี้อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามคำแนะนำและมาตรฐานที่ใช้ในแต่ละสถาบันการแพทย์ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านนอนไม่หลับเพื่อข้อมูลที่ถูกต้องและคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับบุคคลแต่ละราย


ตัวอย่างจากคนไข้จริง

ผมได้เห็นเคสคนไข้จำนวนมากที่ผลการตรวจสอดคล้องกับอาการเท่าเขาเป็น โดยในเคสนี้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ค่อนข้างมาก BMI 35 และเป็นคนที่แทบไม่เห็นคอเลย อีกทั้งมีประวัติง่วงนอนกลางวันเป็นประจำ จึงได้ทำการตรวจการนอนที่บ้านและได้ผลด้านล่างดังนี้

ผลการตรวจการนอนจะหน้าตาแบบนี้

ผมขอแปลผลการนอนง่ายๆแบบนี้ เพื่อให้คนที่สนใจดูเป็นรายละเอียดว่าเราทำอะไรกัน

  • ค่า AHI อยู่ที่ 60.4 ซึ่งถือว่าสูงมาก ถ้าจะแปลให้เป็นความหมายแบบเข้าใจง่ายๆก็คือ ในทุกๆ 1 ชั่วโมงของการนอนหลับ เขาจะมีภาวะหยุดหายใจถึง 60.4 ครั้งต่อชั่วโมง
  • ด้วยความรุนแรงของตัวโรค รวมถึงจากการสังเกตของเพื่อนร่วมเตียงที่แจ้งว่าผู้ป่วยมีภาวะกรนหนักมาก รวมถึงอาการง่วงตอนกลางวันเป็นประจำ จึงแทบจะบอกได้เลยว่าเขามีภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ

การรักษาภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ

การรักษาทำได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องทานยาใดๆ โดยจะต้องทำ 2 อย่างควบคู่กันเสมอคือ

  1. ระยะสั้น – ระยะกลาง การใช้เครื่อง CPAP เพื่อช่วยถ่างขยายช่องทางเดินหายใจระหว่างนอนหลับ ซึ่งเราจะสัมผัสได้ถึงความแตกต่างของคุณภาพการนอนได้ตั้งแต่คืนแรกหลังใช้
  2. ระยะกลาง – ระยะยาว เช่น ถ้าหากท่านมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกิน การลดน้ำหนักให้กลับสู่เกณฑ์มาตรฐานเป็นสิ่งจำเป็น

การเตรียมตัวก่อนตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test)

  1. อาบน้ำสระผมให้สะอาดก่อนมาเข้ารับการตรวจ และไม่ใช้น้ำมันสเปรย์ใส่ผม
  2. งดการหลับในเวลากลางวัน ถ้าไม่ใช่สิ่งที่เคยทำประจำ
  3. ก่อนการตรวจ 5 ชั่วโมง ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้น้อยลง และรับประทานอาหารเย็นให้เรียบร้อยก่อนมาตรวจ
  4. งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับการตรวจ 24 ชั่วโมง
  5. งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มกระตุ้นประสาทก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
  6. ถ้ามียาที่ต้องทานเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจำเป็นต้องงดหรือไม่
  7. ผู้ชายควรโกนหนวดให้เรียบร้อยก่อนมาตรวจ ผู้หญิงควรงดแต่งหน้าและทาเล็บ

การตรวจการนอนหลับที่บ้านนับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน และสงสัยว่าจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะมีข้อดีต่างๆ มากมาย เช่น ราคาประหยัด ไม่ต้องรอคิวนาน นอนหลับได้สนิทมากกว่าเพราะได้นอนในสถานที่ที่คุ้นเคย ทำให้ผลการตรวจใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า

แต่อย่างไรก็ดี การตรวจแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนตัดสินใจท่านควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับก่อน เพื่อให้แพทย์ประเมินและเป็นผู้พิจารณาว่าท่านควรจะรับการตรวจแบบไหนต่อไป


สนใจการตรวจการนอนที่บ้าน

ท่านสามารถติดต่อได้ที่ช่องทางติดต่อด้านล่างนี้