ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายมีอะไรบ้าง

ผมคิดดูแล้วน่าจะมี 5 ปัญหาหลักที่พบได้ในคนทั่วไปดังนี้

  1. นกเขาไม่ขัน (อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเพียงพอ) อันนี้เรียกว่า Erectile Dysfunction หรือชื่อย่อว่า ED
  2. ภาวะล่มปากอ่าว หรือ นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ (หลั่งเร็วเกิน) อันนี้เรียกว่า Premature Ejaculation
  3. ปัญหาการหลั่งช้า ทำเท่าไรก็ไม่เสร็จ เรียกว่า Delayed Ejaculation
  4. ปัญหาการหมดอารมณ์ทางเพศหรือพร่องฮอร์โมนเพศชาย
  5. ปัญหาอวัยวะเพศโค้งงอ (Peyronie’s disease)

ซึ่งแต่ละอันก็จะมีรูปแบบความแตกต่างของมันเอง มาลองดูตัวอย่างของแต่ละแบบ

1. นกเขาไม่ขัน (อวัยวะเพศไม่แข็งตัว)

เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้ชายทั่วโลก โดยจะพบได้ประมาณ 40% ในผู้ชายอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป (30% ในผู้ชายที่อายุ 30 ปีขึ้นไป และประมาณ 50% ในผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ซึ่งปัญหามีตั้งแต่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวตลอดกิจกรรม หรือหนักที่สุด ไม่มีสามารถแข็งตัวเพียงพอจนเริ่มกิจกรรมได้เลย

อ่านต่อ เรื่องของภาวะอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวได้ที่นี่

2. นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ (อาการหลั่งเร็ว)

อาการหลั่งเร็ว หรือภาษาพูด คือ นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ หรือเรือล่มปากอ่าว เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ชายทุกช่วงอายุ เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการหลั่งให้นานพอที่อีกฝ่ายจะถึงจุดสุดยอดได้ ซึ่งโดยตามธรรมชาตินั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์กัน ฝ่ายชายสามารถถึงจุดสุดยอดได้ ในเวลาประมาณ 2-3 นาที ซึ่งถ้าหากเร็วกว่านี้จะเข้าข่ายเป็นภาวะหลั่งเร็ว

อ่านต่อ เรื่องของภาวะหลั่งเร็วได้ที่นี่

3. ปัญหาการหลั่งช้า

โดยปกติคนทั่วไป ผู้ชายจะสามารถหลั่งได้ภายใน 15 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลามาตรฐานสำหรับผู้หญิงที่จะมีกิจกรรมด้วย ถ้าหากนานกว่านี้เช่น 30 นาทีก็ถือว่าเป็นปัญหาเช่นกัน

4.ปัญหาการหมดอารมณ์ทางเพศหรือพร่องฮอร์โมนเพศชาย

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย คือภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือมีระดับฮอรโมนเทสโทสเตอโรนลดลงอย่างผิดปกติ มักพบได้ในเพศชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ลักษณะอาการของภาวะพร่องฮอร์โมน เช่น สูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง ความต้องการทางเพศลดลง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร หรือขาดสมาธิในการทำงาน

หากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายโดยเฉพาะ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย มี 2 วิธีหลักๆ คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน

5. ปัญหาอวัยวะเพศโค้งงอ (Peyronie’s disease)

Peyronie’s disease (โรคไพโรนีย์) การโค้งงอผิดปกติของ อวัยวะเพศชาย อาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลัง สามารถเกิดที่ตำแหน่งใดก็ได้ของลำอวัยวะเพศชาย โดยอาจมีการโค้งงอขึ้นบน,ลงล่าง,ในทางซ้ายหรือทางขวา การโค้งงอลงล่างเป็นภาระที่เกิดตั้งแต่กำเนิดได้น้อย เนื่องมาจากการที่มีพังพืดใต้ อวัยวะเพศชาย การงอโค้งด้านข้าง มักเกิดจากที่ส่วนของท่อใน อวัยวะเพศชาย ที่ทำหน้าที่แข็งตัวข้างซ้ายและข้างขวามีความยาวที่แตกต่างกันภาวะการโค้งงอ ผิดรูปจะเห็นเมื่อเวลามีการแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่เห็นในภาวะปกติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *