ภาวะการหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation)

ภาวะการหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation) หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ “นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ” คือภาวะที่ ผู้ชายถึงจุดสุดยอดและมีการหลั่งหลังจากที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ในเวลาไม่นาน ทั้งๆที่ได้รับกระตุ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่าระยะเวลากี่นาทีที่เรียกว่าเร็ว ปัจจุบัน สมาคม International Classification of Disease (ICD-10) ได้ตั้งตัวเลขไว้ที่ 15 วินาที หลังจากเริ่มมีกิจกรรม

ระยะเวลามาตรฐานของการมีเพศสัมพันธ์จนถึงหลั่งของผู้ชายจะอยู่ที่ประมาณ 4 – 8 นาที ถ้าช้ากว่านี้จะเรียกภาวะหลั่งได้ช้า (Delayed Ejaculation) แทน ซึ่งภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชายนั้นมีหลากหลายอาการและวิธีการรักษาที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่ได้กล่าวมา จะเห็นภาวะ ภาวะการไม่แข็งตัวของน้องชาย กับ ภาวะหลั่งเร็ว นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ดังจะสรุปได้ตามรูปด้านล่าง และสาเหตุการเกิดและการรักษาก็ต่างกันด้วยเช่นกัน

หลั่งเร็ว คือ เร็วขนาดไหนที่เรียกว่าเร็ว

อาการหลั่งเร็ว หมายถึง ภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการหลั่งให้นานพอที่อีกฝ่ายจะถึงจุดสุดยอดได้ ซึ่งโดยตามธรรมชาตินั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์กัน ฝ่ายชายสามารถถึงจุดสุดยอดได้ ในเวลาประมาณ 2-3 นาที ซึ่งเร็วกว่าฝ่ายหญิงที่ต้องใช้เวลาประมาณ 15 นาที โดยการหลั่งเร็ว มีลักษณะ 3 อย่างคือ หลั่งก่อนการสอดใส่ กำลังจะสอดใส่ และหลังการสอดใส่แล้ว

โดยจะสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน

ภาวะหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation)ภาวะน้องชายไม่แข็งตัว (Erectile Dysfunction)
สาเหตุน้องชายไวต่อความรู้สึก กล้ามเนื้อเชิงกรานถูกกระตุ้นเร็วไปเส้นเลือดแดงที่มาส่งเลือดให้น้องชายทำงานไม่ดี
การแข็งตัวไม่มีปัญหาในการแข็งตัวไม่สามารถแข็งตัวได้ หรือแข็งตัวได้แต่พอที่จะทำให้กิจกรรมเสร็จตามความพอใจ
การคงสภาพของการแข็งตัวไม่มีปัญหาในการคงสภาพ สามารถแข็งตัวจนถึงการหลั่งได้น้องชายอ่อนตัวก่อนที่จะถึงจุดสุดยอด ไม่สามารถจบกิจกรรมได้ดั่งใจ
การหลั่งการหลั่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาน้อยกว่า 2 นาทีในผู้ที่ไม่สามารถแข็งตัวได้เลย อาจจะบอกได้ยากว่ามีปัญหาการหลั่งหรือไม่ แต่ในคนที่มีปัญหาเล็กน้อยไม่พบว่ามีภาวะการหลั่งเร็ว
อายุที่พบพบได้ในทุกช่วงอายุพบได้ในคนที่อายุมากขึ้น อายุยิ่งเยอะยิ่งพบมากขึ้น และพบในผู้ที่มีปัญหาด้านเส้นเลือด
เทียบความแตกต่างระหว่างสองภาวะที่พบได้บ่อย

สาเหตุหลั่งเร็ว

  • ทางจิตใจ อาจเกิดขึ้นจากบาดแผลทางใจ เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ประสบการณ์การมีเซ็กส์ในอดีต ความไม่มั่นใจในรูปลักษณ์และขนาดของตัวเอง หรืออาจเกิดจากปัญหาทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล ปัญหาในความสัมพันธ์
  • ทางร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมนผิดปกติ ที่มีการศึกษากันมากคือสารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้การรับรู้ความรู้สึกของอวัยวะเพศมีความไวต่อการสัมผัสผิดปกติ อาจเป็นที่เส้นประสาทที่มาเลี้ยงอวัยวะเพศ หรือภายในสมอง การติดเชื้อในต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ภาวะหลั่งเร็ว สามารถรักษาได้อย่างไร

การรักษาภาวะหลั่งเร็ว สามารถทำได้หลายวิธี เริ่มตั้งแต่การฝึกจิตใจ การฝึกกล้ามเนื้อ การใช้ยา และ การผ่าตัด

แบบไม่ใช้ยา

  • Start and Stop technique คือ เป็นการฝึกฝนเพื่อควบคุมช่วงเวลาของจุดสุดยอด โดยเริ่มจากการช่วยตัวเองและหยุดก่อนถึงจุดสุดยอด พักไว้จนกว่าความรู้สึกนั้นลดลงแล้วเริ่มใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำๆ ประมาณ 3-4 ครั้ง โดยพยายามให้ใกล้จุดสุดยอดมากที่สุด วิธีนี้ช่วยในการรู้จักจุดสุดยอดของตัวเองและช่วยให้สามารถควบคุมการหลั่งได้ดีขึ้น ซึ่งเรียกว่า “เทคนิคเริ่ม-หยุด”
  • Squeeze technique อาจใช้ร่วมกับวิธีแรกเพื่อให้การควบคุมการหลั่งทำได้ง่ายขึ้น โดยวิธีนี้เมื่อช่วยตัวเองใกล้จะถึงจุดสุดยอดหรือใกล้จะหลั่งแล้ว ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ บีบที่ตรงใกล้เส้นสองสลึง (เส้นด้านล่างของหัวองคชาติ) หรือ ตรงโคนของอวัยวะเพศ นานประมาณ 3-4 วินาที จนความรู้สึกลดลงไป แล้วหลังจากนี้จึงเริ่มช่วยตนเองต่ออีกครั้ง
  • Kegel exercise หรือ การออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ใช้ขมิบก้นบ่อยๆ โดยการฝึกขมิบก้นเป็นเทคนิคชะลอการหลั่งด้วยการบริหารกล้ามเนื้อหูรูดอุ้งเชิงกรานหรือทวารหนักโดยขมิบก้นคล้ายการกลั้นอุจจาระประมาณ 10 วินาทีแล้วค่อยผ่อนลง ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 15 ครั้ง/วัน ทำซ้ำเป็นประจำทุกครั้งเพื่อการหลั่งที่ช้าลงครับ
  • ใช้ถุงยางอนามัยที่ผสมยาชา จะลดการกระตุ้นต่อความรู้สึกทางเพศ และทำให้หลั่งช้าลงได้
  • เปลี่ยนท่าการมีเพศสัมพันธ์ เช่น การใช้ท่า woman on top จะทำให้ฝ่ายชายผ่อนคลาย แล้วควบคุมได้ง่ายขึ้น เวลาที่ใกล้ถึงจุดสุดยอดก็บอกให้ฝ่ายหญิงทราบด้วย

การใช้ยา

  • ยาต้านเศร้า (Antidepressant) นอกจากจะใช้รักษาผู้ที่มีอาการและอยู่ในภาวะซึมเศร้า ผลข้างเคียงของกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านเศร้า คือ ชะลอการถึงจุดสุดยอดของการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเท่ากับชะลอการหลั่งอสุจิในเพศชายด้วย ตัวยาที่ใช้ เช่น พาร็อกซีทีน (Paroxetine) เซอร์ทราลีน (Sertraline) และฟลูออกซีทีน (Fluoxetine)
  • ดาพ็อกซิทีน (Dapoxetine) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับสารซีโรโทนินเช่นเดียวกับกลุ่มยาต้านเศร้า แต่ดาพ็อกซิทีนจะส่งผลรักษาอาการหลั่งเร็วและออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า โดยต้องใช้ยาไม่เกินวันละ 1 ครั้ง รับประทานก่อนมีเพศสัมพันธ์ 1–3 ชั่วโมง และไม่สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหัวใจ ตับและไต ผลข้างเคียงจากการใช้ยาตัวนี้ คือ อาการปวดหัว วิงเวียน รู้สึกป่วย
  • การใช้ยาชาเฉพาะที่ เช่น สเปรย์ที่มีส่วนผสมของยา ลิโดเคน (Lidocaine) เบนโซเคน (Benzocaine) พรีโลเคน (Prilocaine) ใช้สำหรับทาองคชาตก่อนมีเพศสัมพันธ์ 10-15 นาที เพื่อลดความรู้สึกทางเพศลง และช่วยชะลอการหลั่ง อย่างไรก็ตาม ยาชาเฉพาะที่อาจส่งผลกระทบต่อคู่รักขณะสอดใส่ได้เช่นเดียวกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *