หลายคนมีอาการหวาดผวาน้ำตาลจนอาจจะพาลไปหาผลไม้ว่าเป็นของอันตราย ยิ่งกินน้ำหนักยิ่งขึ้น มาทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีกนิดสำหรับเรื่องราวของน้ำตาลในผลไม้ครับ
ผลไม้ | Total carbohydrate (รวม Fiber ด้วย) | Total Sugar | Fructose | Glucose | Sucrose | สัดส่วนของ ฟรุกโตส/ กลูโคส | %Sucrose |
แอปเปิล | 13.8 | 10.4 | 5.9 | 2.4 | 2.1 | 2.0 | 19.9 |
กล้วย | 22.8 | 12.2 | 4.9 | 5.0 | 2.4 | 1.0 | 20.0 |
องุ่น | 18.1 | 15.5 | 8.1 | 7.2 | 0.2 | 1.1 | 1 |
ส้มไร้เมล็ด | 12.5 | 8.5 | 2.25 | 2.0 | 4.3 | 1.1 | 50.4 |
สับปะรด | 13.1 | 9.9 | 2.1 | 1.7 | 6.0 | 1.1 | 60.8 |
ปริมาณน้ำตาลของผลไม้ (กรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนัก) Ref : NAL USDA National Nutrient Database
ผลไม้ หลักๆจะประกอบขึ้นมาจาก แป้ง + ใยอาหาร + น้ำตาล (ที่มีทั้ง Fructose + Glucose + Sucrose) ผสมกัน
ความแตกต่างระหว่าง added sugar กับ น้ำตาลในผลไม้ คือ น้ำตาลในผลไม้จะอยู่ในรูปของธรรมชาติและรับประทานเข้าไปพร้อมกับใยอาหาร ทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ดียิ่งกว่า
อ่านเพิ่มเติมเรื่อง added sugar
อย่างไรก็ตาม พอเราเห็นตารางนี้ แล้วจะไปเหมารวมว่าผลไม้ชนิดไหนมี “น้ำตาลเยอะ” เลยก็อาจจะไม่ได้ทันที เพราะในตารางข้างบนนี้คือ ต่อ 100 กรัมผลไม้ที่เราเทียบ แล้วชีวิตจริงๆของเรากินผลไม้ครั้งหนึ่งกี่กรัม
- กล้วยหอม 1 ลูก (ขนาด 7-11) มีขนาดประมาณ 120 กรัม
- แอปเปิ้ล 1 ลูก มีขนาดประมาณ 240 กรัม
- องุ่น 3/4 ถ้วย มีขนาดประมาณ 120 กรัม
- ส้ม 1 ลูกกลาง มีขนาดประมาณ 120 กรัม
เลยเป็นที่มาของเหตุผลว่า ถ้าจะลดน้ำหนักต้องกินผลไม้ให้เป็นลูกๆ อย่าไปกินแบบปั่นหรือคั้นเด็ดขาดครับ ปกติ ส้ม เราจะกินได้กี่ผลกัน ผมคิดว่าทั่วไปเรากิน 2-3 ผลก็ถือว่าเยอะมากแล้ว ซึ่งน้ำตาลโดยรวมก็ยังไม่ถือว่าสูง แต่ถ้าเราเอาไปคั้นให้ได้เต็มแก้ว น่าจะใช้ไม่ต่ำกว่า 10 ลูกพร้อมใยอาหารที่หายไประหว่างทาง
ไม่แนะนำนับแคลอรีของผลไม้อย่างเด็ดขาด
เป็นความเข้าใจผิดที่มีความเชื่อที่ว่า “กินผลไม้แทนข้าว เพื่อใช้ลดน้ำหนัก” การนับแคลอรีของผลไม้มีผลเสียหลายอย่าง เพราะผลไม้ เป็น อาหารที่มีสัดส่วนของน้ำตาล (แม้จะอยู่ในรูปของธรรมชาติ) ถ้ากินเยอะ อย่างไรก็น้ำหนักขึ้นอย่างแน่นอน เพราะปริมาณน้ำตาลที่ได้รับเกินเกณฑ์ไปอย่างมาก ทั้งๆที่เราเอาตัวเลขแคลอรีมานั่งบวกกันแล้วยังไม่เกินเกณฑ์ต่อวันก็ตาม