วิทยาศาสตร์ของการหลั่ง (Ejaculation)

ถือว่าเป็นหัวข้อที่อาจจะเขียนได้ค่อนข้างยาก เพราะเนื้อหาอาจจะหมิ่นเหม่สักเล็กน้อย แต่ผมจะทำให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่ายให้มากที่สุด คนที่ผ่านมาอ่านจะได้พอมองเห็นภาพว่าคำว่าการหลั่งมันคืออะไร โดยมีสิ่งที่ท่านน่าจะต้องทำความเข้าใจ (อีกครั้ง) หลักๆ 3 อย่าง คือ

ก่อนจะไปสู่เรื่องของการหลั่ง (Ejaculation) ท่านสามารถอ่านเรื่องของการแข็งตัว (Erection) ก่อนได้ที่นี่

  1. ตัวกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหลั่ง
  2. ตัวของไข่ (อัณฑะ) และท่อต่างๆที่เกี่ยวกับกระบวนการหลั่ง
  3. ฮอร์โมนที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งในคนแต่ละคนจะมีสาเหตุที่ไม่เหมือน ซึ่งหมอจะรู้จากการซักประวัติและตรวจเลือดเป็นต้น โดยทั้ง 2 สาเหตุนี้คือ ต้นเหตุของภาวะนกกระจอกไม่ทันกินน้ำ และภาวะหลั่งช้า ไม่เกี่ยวอะไรกับการแข็งตัวแล้ว โดยผมจะขอเริ่มต้นจากข้อ 1 ถึง 3 ไปตามลำดับ

โดยกล้ามเนื้อ และ ไข่ (อัณฑะ) จะขอพูดในหัวข้อที่ต่อเนื่องกันดังนี้

ทำความรู้จักกับโครงสร้างของไข่สองฟอง (อัณฑะ, Testis)

รูปร่างหน้าตาภายในของอัณฑะ

อัณฑะ (testis) หรือที่เราเรียกชื่อเล่นกันว่า “ไข่” อัณฑะเป็นอวัยวะเพศของผู้ชาย อยู่ใน ถุงอัณฑะ (scrotum) มีอยู่ 2 ข้างซ้ายและขวา เนื่องจากอัณฑะเป็นอวัยวะที่อยู่นอกร่างกายทำให้อุณหภูมิของอัณฑะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้ตัวอสุจิ (เซลล์สืบพันธุ์เพศชายอยู่อย่างสบาย)

โดยอัณฑะ เกิดมามีหน้าที่สำคัญมากอยู่ 2 อย่างคือ

  1. ทำหน้าที่ในการผลิตสร้างตัว อสุจิ (sperm)
  2. ผลิตฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญได้แก่ เทสโทสเตอโรน (testosterone)

ซึ่งปัญหาในผู้ชายที่มีบุตรยากบางคน อาจจะมีปัญหาจากการที่สร้างตัวอสุจิมีปัญหา หรือมีจำนวนไม่พอ หรืออะไรก็ว่า หรือในคนที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศ หรือมีการผลิตที่ไม่ปกติ ก็อาจจะมาจากฮอร์โมนเพศชายที่ทำงานผิดปกติก็ได้ครับ

การสร้างอสุจิ (sperm)

กลับมาที่รูปร่างหน้าตาภายในอัณฑะกันต่อ ตัวอสุจิจะถูกสร้างภายใน lobule ต่างๆที่อยู่ด้านใน ที่เรียกว่า seminiferous tubule ซึ่งจะถูกกระตุ้นด้วยเทสโทสเตอโรน เมื่ออสุจที่ถูกสร้างอย่างสมบูรณ์แล้วจะถูกส่งนำไปพักไว้ที่ ท่อพักน้ำเชื้อ (epididymis) จากในภาพคือท่อที่มีหน้าตาคดเคี้ยวเหมือนตัวหนอน

โดยตัวอสุจิจากตัวอ่อนที่เข้ามาอยู่ในท่อพักนี้ (epididymis) จะค่อยๆเคลื่อนที่ไปท่อพักเป็นระยะเวลาประมาณ 12 วัน ในเส้นทางที่ขดไปขา จนในที่สุดตัวอสุจิจะเดินทางมาถึงปลายทางพอดี (tail of epididymis) และตัวเต็มวัยนี้จะเดินทางเข้าสู่ ท่อนำอสุจิ มีชื่อเรียกว่า Vas deferens ในเวลาปกติที่ไม่มีการหลั่งตัวอสุจิ (sperm) ก็จะมาพักคอยอยู่กันที่บริเวณ และเมื่อมีการกระตุ้นจนถึงการหลั่งก็จะเข้าสู่เฟสถัดไป

ผมขอพักตรงนี้ไว้ก่อน จะเห็นว่ามีฮอรโมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เข้ามาเกี่ยวข้องแบบเต็มๆ และอะไรก็ตามที่ทำฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง (Testosterone Deficiency) ย่อมทำให้การสร้างอสุจิมีปัญหาและนำไปสู่ปัญหาทางเพศต่อไป

ระบวนการสร้างและการเคลื่อนที่ของอสุจิ

การเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ

เมื่อมีสิ่งเร้าและการกระตุ้นที่เพียง การหลั่ง (ejaculation) จะเกิดขึ้น โดยตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ไปตามท่อนำอสุจิ (Vas deferens) และจะไปรวมกับของเหลวจาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle) ที่ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน เป็นต้น โดยของเหลวจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงนี้คิดเป็นประมาณ 60% ของสิ่งที่หลั่งออกมาของผู้ชาย

หลังจากอสุจิได้รวมกับของเหลวจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงแล้ว ท่อนำส่งนี้จะมาพบกับ ต่อมลูกหมาก (prostate grand) โดยต่อมลูกสร้างสารที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของตัวอสุจิ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะ เพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ โดยของเหลวจากต่อมลูกหมากนี้คิดเป็นประมาณ 20 – 30 % ของสิ่งที่หลั่งออกมาของผู้ชาย

จากจุดนี้นี้เองที่ ท่อนำอสุจิ จะมาพบกับท่อปัสสาวะแล้ว และจะรวมกันเป็นท่อเดียวไปจนถึงสุดปลายท่อปัสสาวะ (ปลายองคชาติ) นั่นเอง และตรงบริเวณจุดรวมนี้จะมีกล้ามเนื้อที่สำคัญ 2 มัดที่เป็นแรงส่งในเวลาของการหลั่ง เพราะอสุจิไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เองภายในท่อปัสสาวะ และเมื่อมีการหลั่งร่างกายจะทำการปิดรูการย้อนกลับไปยังกระเพาะปัสสาวะ (ไม่เช่นนั้นอสุจิวิ่งย้อนทางกลับไปยังกระเพาะฉี่คงดูไม่จืด)

กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหลั่ง

Ischiocavernosus muscles in Red

กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหลั่ง จะเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้จิตใจของเรา กล้ามเนื้อมัดนี้มีชื่อว่า Ischiocavernosus และ bulbocavernosus โดยกล้ามเนื้อมัดนี้จะอยู่ตำแหน่งตามในรูปตรงโคนของน้องชายและใกล้ๆกับรูก้น ทำไมถึงเป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมได้ ลองทำกิจกรรมตามนี้ดูครับ ก็คือ การอั้นปัสสาวะ และการขมิบก้น นั่นเอง

กล้ามเนื้อสองมัดสำคัญนี้ จะเป็นตัวที่บีบรัดในช่วงของจังหวะสุดท้ายของการมีกิจกรรมร่วมกัน โดยคุณผู้ชายจะสัมผัสได้ดี ในช่วงของจุดสุดยอด (orgasm) ที่เราจะสัมผัสได้ถึงการหดตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยก่อนที่จะถึงจุดนั้นเราจะสามารถควบคุมกล้ามเนื้อมัดนี้ได้ แต่ถ้าผ่านจุดที่เรียกว่า point of no return ไปแล้ว เราจะไม่สามารถหยุดกล้ามเนื้อมัดนี้จากการหดตัวได้อีกแล้ว

Point of no Return ของคนที่มีปัญหา Premature Ejaculation

จากภาพนี้จะเห็นว่า ตรงแกนซ้ายจะเป็นระดับการกระตุ้นอารมณ์ (arousal level) ซึ่งเลข 8 จะมีเส้นสีฟ้าเข้มคาดเป็นเส้นตรงไว้อยู่ กิจกรรมทุกอย่างที่เกิดก่อนจะมาถึงระดับการกระตุ้นที่ 8 เราจะสามารถควบคุมกล้ามเนื้อสองมัดที่คุยกันก่อนหน้านี้ได้ แต่ถ้าเกินเลข 8 มาแล้ว แปลว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิดครับ เลยที่เป็นที่มาของการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อมัดนี้ให้ได้ดีที่สุด

โดยปกติแล้วระยะเวลาจากระดับ 0 ไปจนถึงระดับ 8 ในผู้ชายปกติจะกินเวลา 2-3 นาทีโดยทั่วไป ในคนที่ฝึกมาดีอาจจะนานกว่านี้ได้มาก แต่ในผู้ที่มีภาวะนกกระจอกไม่ทันกินน้ำ หรือ ล่มปากอ่าว เวลาจะน้อยกว่า 2 นาที หรือน้อยกว่านี้

แปลว่า เราต้องทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ไปถึงจุด point of no return ให้ได้เท่ากับคนปกติ

point of no return ในคนปกติ

จากภาพนี้ จะเป็นระยะ point of no return ในคนทั่วไป จะเห็นว่า เราสามารถควบคุมกล้ามเนื้อและระดับอารมณ์ให้อยู่ที่ระดับ 7 – 7.5 ไว้ได้ ก่อนที่จะถึง 8 อันเป็นจุดที่กลับตัวไม่ได้แล้ว โดยการควบคุมให้อยู่ในระยะนี้จะเรียกว่า Plateau Step นั่นเอง

จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา ก็อาจจะบอกได้ว่า ปัญหาการหลั่งเร็ว เป็นปัญหาของการควบคุมการหลั่งเป็นหลัก ซึ่งเราสามารถควบคุมมันได้ผ่านการฝึกฝนกล้ามเนื้อ ischiocavernosus และ bulbocavernosus นั่นเอง โดยการฝึกที่เรียกว่า Kegel exercise หรือการทำให้อวัยวะเพศชายได้รับความรู้สึกของการกระตุ้นที่ช้าลง ผ่านการใช้ยาลดการรับความรู้สึกในรูปแบบต่างๆเช่น Lidocaine spray หรือชนิดของถุงยางอนามัยที่มีการเคลือบสารลดการรับความรู้สึก เป็นต้น

ภาวะการหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation) เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ผ่านการฝึกฝนกล้ามเนื้อเชิงกรานและการใช้ยาลดความรู้สึก ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวแต่อย่างใด

อ่านต่อเรื่องภาวะการหลั่งได้ที่นี่


ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่ง

อย่างที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้วในช่วงของการสร้างตัวอสุจิ ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ถือว่าเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญมาก และถ้าฮอร์โมนนี้ทำงานผิดปกติ หรือมีปริมาณที่น้อยไป ความรู้สึกทางเพศและปริมาณของตัวอสุจิ หรือประสิทธิภาพความแข็งแรงของตัวอสุจิก็จะมีปัญหาต่อมาเช่นกัน


บทสรุป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *