ทำไมผู้สูงอายุ หกล้มแล้วมีปัญหาทุกครั้ง

หกล้มทีไรได้เรื่องทุกที หนักหน่อยกระดูกหักเลย

ทำไมเวลาหนุ่มสาว หกล้มไม่ค่อยมีปัญหาอะไร

แต่คนแก่หกล้มนิดเดียวเรื่องใหญ่ทั้งบ้าน

เรื่องนี้มีที่มาที่ไปครับ

สาเหตุที่ผู้สูงอายุหกล้มง่ายกว่าตอนอายุหนุ่มสาว หนึ่งในเหตุผลหลักเลยก็คือ “กล้ามเนื้อพร่องไปมาก” เรียกว่า “Sarcopenia”

กล้ามเนื้อเราจะแปรผกผันกับอายุอยู่แล้วครับ ยิ่งอายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อก็จะลดลง ยิ่งถ้าเราไม่ดูแลให้ดี อัตราการเร่งของการลดก็จะยิ่งมากและเร็วขึ้นไปอีก และถ้าใครสะสมกล้ามเนื้อตอนวัยกลางคนไว้น้อย เข้าสู่ตอนช่วงปลายชีวิต กล้ามเนื้ออาจะยิ่งน้อยลงไปอีกครับ

กล้ามเนื้อที่เราสนใจมากสุดในผู้สูงอายุคือ “กล้ามเนื้อช่วงล่างของร่างกาย” หรือพูดง่ายๆ ก็คือ กล้ามเนื้อขานั่นเอง

ยิ่งกล้ามเนื้อขาแข็งแรง โอกาสที่จะหกล้มก็ยิ่งยาก

ยิ่งกล้ามเนื้อขาแข็งแรง เมื่อหกล้มแล้ว จากหนักก็จะกลายเป็นเบา

ขอยกตัวอย่างหนึ่งในคนที่ผมดูแล นำผลการตรวจมาแสดงให้ดูครับ เป็นสตรีวัย 47 ปี (ถือว่าไม่เยอะเลย) น้ำหนัก 47.5 กก. ดู BMI ได้เท่ากับ 24.9 ถ้าเราเห็นแบบนี้เวลาไปโรงพยาบาล คงไม่มีเจ้าหน้าที่ทักแน่นอนว่ามีปัญหา

ทีนี้ลองมาดูข้างในจากการวัด Body Composition ดู เราจะพบความจริงที่น่าตกใจ!

ตกใจแรก คือ “กล้ามเนื้อน้อยมาก” มีกล้ามเนื้อเพียง 14.4 กก. เท่านั้น น้อยกว่าที่ควรจะมีราวๆ 5 กก. เป็นอย่างน้อย ***

ตกใจที่สอง คือ “กล้ามเนื้อขาน้อยมาก” ขาทั้งสองข้างมีกล้ามเนื้อรวมกันประมาณ 5 กก. นิดๆ จากที่ควรจะมีราวๆ 9-10 กก.

ตกใจที่สาม คือ “ไขมันในช่องท้องสูงมาก” Visceral fat เท่ากับ 15

สำหรับสิ่งที่ควรทำในตอนนี้คือ

1. กินโปรตีนให้ถึง ผู้สูงอายุมักจะกินโปรตีนไม่ถึงเกณฑ์ ต่ำกว่าเกณฑ์ไปมาก

2. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา ให้นั่งริมขอบโต๊ะแล้วเตะลมครับ เตะจนคล่องแล้วให้เพิ่มน้ำหนักที่เท้าแล้วเตะอีก ปั่นจักรยานในท่านอน ทุกอย่างทำในระยะแรก หลังจากนี้ควรต้องหาคนมาช่วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *