เกรลิน (Ghrelin) สมองเรากินเพราะเราอยากกิน หรือเรากินเพราะถูกสั่งให้กิน

ถ้าเลปตินคือฮอร์โมนแห่งความอิ่ม เกรลิน (Ghrelin) ก็คือสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม นั่นคือ ฮอร์โมนแห่งความหิว

เกรลิน (Ghrelin) ถูกสร้างจากเซลล์ในทางเดินอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณกระเพาะอาหารโดยจะส่งสัญญาณไปยังต่อมใต้สมอง (pituitary gland) และไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ฮอร์โมนเกรลินในร่างกายจะสูงที่สุดคือตอนก่อนกินอาหาร (คือช่วงที่หิวมาก) และหลังจากที่กินเสร็จแล้ว เกรลินก็จะค่อยๆลดลงจนกลับมาเป็นปกติ

โดยระหว่างที่เกรลินเริ่มหลั่งออกมานั้น จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของกระเพาะอาหารและการหลั่งกรดในกระเพาะเพื่อเป็นสัญญาณเตรียมรับอาหารที่กำลังจะมาถึง

เกรลิน (Ghrelin) กับ น้ำหนักตัว

ในคนที่น้ำหนักเกิน เมื่อไปตรวจระดับฮอร์โมนเกรลินแล้วจะพบว่ามีค่าน้อยกว่าคนที่น้ำหนักตัวปกติ แต่กลับมีการตอบสนองที่มากกว่า ซึ่งการตอบสนองต่อเกรลินที่มากกว่านี้เองที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้หิวง่ายและกินมากขึ้น

คนที่ลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารเพื่อคุมแคลอรีนั้น จะทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่หิว คือมีฮอร์โมนเกรลินหลั่งออกมาในจำนวนที่มาก และเมื่อเกรลินหลั่งมาก เลปตินก็จะหลั่งลดลงทันที (สองฮอร์โมนนี้ทำงานตรงข้ามกัน) เมื่อเลปตินหลั่งลดลงนั้นเราก็จะกินมากขึ้น (เพื่อเพิ่มการสะสมไขมัน) และเคลื่อนไหวน้อยลง (เพื่อสงวนพลังงาน) ซึ่งจะทำให้เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้ามและหนึ่งในนั้นก็คือ โยโย่เอฟเฟค

หมอโจ้ Hack your Health

ช่องทางรับข่าวสารอื่นๆ

เว็บไซต์ : hackyourhealth.co

Facebook : Dr Joe Akkavich

Line : @hackyourhealth

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *