โยโย่ เอฟเฟค (Yoyo effect) ยิ่งลดน้ำหนักมากเท่าใด กลับยิ่งอ้วนกว่าเดิมมากขึ้นเท่านั้น

ก่อนจะเข้าไปสู่แนวทางการหาวิธีลดน้ำหนักแบบใดก็ตาม คำว่า โยโย่ เอฟเฟค (Yo-yo effect) เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจถึงที่มาของมันเป็นอย่างดีเพื่อเราจะได้เดินไปอย่างถูกทาง โยโย่เอฟเฟคจะไม่มีทางเกิดขึ้นถ้าเราทำอย่างถูกวิธีและทำอย่างธรรมชาติ เพราะอะไร มาดูเหตุผลกันครับ

โยโย่เอฟเฟค (Yo-yo effect) คืออะไร

ปรากฎการณ์ที่ร่างกายได้รับพลังงานน้อยกว่าความต้องการเป็นระยะเวลานาน จนร่างกายปรับโหมดการใช้พลังงานเข้าสู่ภาวะอดอยาก (starvation) ซึ่ง จะลดระดับการเผาผลาญพลังงานต่อวันลง และเมื่อร่างกายปรับเข้าสู่โหมดรักษาพลังงานแล้วการจะทำให้ระดับการเผาผลาญกลับไปที่เดิมนั้นทำได้ยากมาก มาลองดูภาพในเหตุการณ์จริงกันครับ

ช่วงที่ 1 นาย ก น้ำหนักตัว 80 กิโลกรัม สมมติพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวันคือ 2,500 กิโลแคลลอรี นาย ก. ตัดสินใจลดน้ำหนักด้วยการทานอาหาร 3 มื้อเหมือนเดิม แต่ลดปริมาณพลังงานรวมต่อวันเหลือ 1,500 กิโลแคลอรี (เช่น จากข้าว 3 ทัพพีต่อมื้อเหลือเพียง 1/2 ทัพพีต่อมื้อ) ด้วยความหวังว่าทานน้อย น่าจะทำให้น้ำหนักลดได้

ช่วงที่ 2 หลังจาก นาย ก ทำไปได้สักระยะพบว่าน้ำหนักลดได้จริง จาก 80 กก. ลงมาเหลือ 70 กก. หลังจากนั้นน้ำหนักก็คงที่อีกต่อไป นาย ก เลือกที่จะลดปริมาณอาหารลงให้น้อยกว่าเดิมคือจาก 1,500 กิโลแคลอรี ลงมาเป็น 1,000 กิโลแคลอรี ทำไปสักระยะน้ำหนักของ นาย ก ลดลงอีกเล็กน้อย จาก 70 มาเป็น 68

ช่วงที่ 3 น้อง ก เริ่มผิดหวัง เพราะคิดว่าทำอย่างเต็มที่แล้ว แต่ทำไมยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ (นาย ก ตั้งเป้าไว้ที่ 60) ในขณะเดียวกันร่างกายของ นาย ก ก็เริ่มส่งสัญญาณบางอย่างให้ นาย ก รับทราบ เช่น เริ่มรู้สึกหนาวได้ง่ายกว่าใคร อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรงทำอะไร และที่สำคัญคือหิวมากกว่าเดิม แล้วสุดท้าย นาย ก ก็หยุดทุกอย่าง และกลับมากินๆๆๆๆ จนกระทั่งน้ำหนักตัวพุ่งไปไกลถึง 90 หรือ 100 กิโลกรัม

การที่น้ำหนักพุ่งพรวดแบบนี้หลังจากที่ลดน้ำหนักมาสักระยะ เราเรียกว่า โยโย่เอฟเฟค (yo-yo effect)

สาเหตุของการเกิด โยโย่เอฟเฟค (yo-yo effect)

จากเหตุการณ์ของ นาย ก ด้านบน การทำวิธีนี้ไปสักระยะ ร่างกายของเราจะเริ่มสัมผัสได้ว่า เรามีพลังงานขาเข้าในร่างกายที่ลดลง ร่างกายเราจะเริ่มพิจารณาว่าสาเหตุที่ลดน่าจะมาจากปริมาณอาหารที่น้อย ก็คือมาจากการอดอยาก (starvation) นั่นเอง

และสิ่งที่ร่างกายทำก็คือ “ลดระดับการเผาผลาญพลังงานลง” เพื่อทำให้ร่างกายใช้พลังงานที่เข้ามาอย่างน้อยนิดให้คุ้มค่าที่สุด เพราะกำลังอดอยากอยู่ ถ้ายิ่งเผาผลาญเยอะ ก็น่าจะทำให้อดอยากยิ่งกว่าเดิม นั่นคือสิ่งที่ร่างกายทำ

การที่ร่างกายลดระดับการเผาผลาญลง ก็คือ การลดอัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน BMR (Basal Metabolic Rate) นั่นเอง ซึ่งถ้าเป็นอะไรที่ลดแล้วแก้ได้ลำบาก และเป็นสาเหตุของน้ำหนักที่พุ่งเป็นจรวดในตอนเกิดโยโย่เอฟเฟค

กฎข้อที่สองของการลดน้ำหนักคือ ห้ามทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (BMR) ลดต่ำลงอย่างเด็ดขาด

มาถึงตอนนี้จะมี กฎ 2 ข้อ เบื้องต้นที่เป็นใจความสำคัญของเรื่องราวการลดน้ำหนักคือ

กฎข้อที่ 1 การลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือ การลดปริมาณไขมันส่วนเกินในร่างกายออกไปนั่นเอง ไม่ใช่การเอาแต่เพียงน้ำหนักตัวออก

กฎข้อที่ 2 ห้ามทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (BMR) ลดต่ำลงอย่างเด็ดขาด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *