ว่าด้วยเรื่อง “สารให้ความหวานแทนน้ำตาล”

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล นั้นคือ มีจุดประสงค์ตอนแรกเพื่อเอามาใช้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ที่เราจะหาอะไรมาใช้แทนกลูโคสหรือน้ำตาลทรายซูโครส เพื่อไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูง อันนี้หลายคนน่าจะเข้าใจกันดีใช่ไหมครับ

แต่ถ้าเราเอามาใช้ในคนปกติทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานอยู่ แล้วเราคิดว่าการกินสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นจะทดแทนการกินน้ำอัดลมเพียวๆได้ โดยที่ไม่มีไม่น่าจะทำให้เราน้ำหนักขึ้นหรืออ้วนได้นั้น น่าจะต้องมาลองคิดดีๆอีกสักครั้งครับ

เพราะคำถามที่ต้องสนใจคือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล นั้นถึงแม้จะไม่มีน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนประกอบ แต่มันทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินได้หรือไม่??

คำตอบคือ “ได้ครับ”

Glycemic Index (GI) ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง

เรามักจะคิดถึงค่า Glycemic Index ที่ว่าด้วยการตอบสนองต่อร่างกายต่ออาหารชนิดนั้นๆว่าน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นขนาดไหนหลังรับประทาน เราควรจะกินอาหารที่ค่า GI ต่ำๆเพื่อจะได้น้ำตาลในเลือดขึ้นช้าๆ ร่างกายจะได้มีเวลามาเก็บน้ำตาลกลับเข้าเซลล์โดยฮอร์โมนอินซูลินใช่ไหมครับ

อันนี้ถูกต้องทั้งหมดครับเรื่องของเรื่องคือ เพียงแค่ว่าตัวค่า Glycemic Index นั้นไม่ได้เป็นสิ่งเดียวที่จะบอกว่าร่างกายต้องหลั่งหรือไม่หลั่งอินซูลิน เพราะ GI พูดแต่สารอาหารแค่แป้งเท่านั้น

โดยค่า Glycemic Index นั้นจะส่งผลต่อการหลั่งอินซูลินเพียงราวๆ 20% เท่านั้น แล้วคำถามคือปัจจัยที่ส่งผลต่อการหลั่งอินซูลินอีก 80% มาจากไหนคำตอบคือ ถ้าเอา 80% มาแยกย่อย หลักๆเลยจะคือ พันธุกรรม (Genetic) และอีกส่วนน้อยๆคือ ปรากฎการณ์ของฮอร์โมน Incretin ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมอยากจะพูดถึงในตอนนี้

Incretin effect คืออะไร

Incretin Effect คือ การหลั่งของฮอร์โมนในกลุ่ม incretin จากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กต่ออาหารที่ผ่านเข้ามาในร่างกายตั้งแต่การมองเห็น ปาก หลอดอาหาร จนตกลงมาถึงกระเพาะ โดยฮอร์โมน incretin นั้นมีหน้าที่ชัดเจนคือทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมานั่นเอง

Incretin นั้นมี 2 ตัวหลักในมนุษย์คือ Glucagon-like peptide (GLP-1) และ Glucose-dependent Insulinotropic polypeptide (GIP) ชื่อก็บอกชัดเจนว่าทำให้อินซูลินหลั่งมากขึ้น (โดยนัยก็คือทำให้น้ำหนักขึ้นในตอนท้ายๆ)

Incretin นั้นหลั่งทันทีเราได้กิน ได้ชิม ได้มอง ได้เห็นอาหารนั้นๆ เพราะจริงๆร่างกายเราเริ่มอยู่ในโหมดการรับประทานตั้งแต่แรกเห็นผ่านระบบประสาทแล้วครับ โดยการกินแบบนี้เรียกว่ากินผ่านสมอง (Cephalic phase) การ และการกินผ่านสมองก็ทำให้ร่างกายเราหลั่งอินซูลินได้โดยที่อาหารยังไม่ผ่านเข้าปากโดยนอกจากนี้

ผลของฮอร์โมน Incretin effect ยังมีผลชัดเจนที่กระเพาะอาหารของเรา และ Incretin effect นี่เอง ที่เป็นตัวบอกว่าต่อให้เรากินอาหารในกลุ่มที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต อินซูลินเราก็สามารถที่หลั่งได้

กลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้งที่ผมบอกว่า การกินสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้น ก็ทำให้อินซูลินหลั่งได้ผ่าน Incretin effect โดยเฉพาะสารให้ความหวานซูคราโลส (Sucralose) นั้นร่างกายจะได้รับอินซูลินไปเต็มๆและกลุ่มของโปรตีน (amino acid) หรือ ไขมัน (fat) ก็มีผลต่อ Incretin effect ด้วยเช่นกัน โดยไขมันจะมีผลน้อยที่สุด ในขณะที่โปรตีนกินแล้วก็อ้วนได้ แต่ที่อ้วนอาจจะไม่ได้เพราะแคลนะครับ แต่อ้วนเพราะผลต่ออินซูลินที่หลั่งผ่าน incretin effect เช่นกัน

สรุป

สรุปของสรุป สารให้ความหวานแทนน้ำตาลออกแบบไว้ให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีอะไรทานเพิ่มรสชาติแทนน้ำตาล แต่สำหรับคนทั่วไป เราต้องไม่หลงประเด็นกันว่า ถ้าเราไม่อยากกินน้ำตาลเลยมากินสารให้ความหวานแทนก็น่าจะเข้าใจได้ แต่ถ้าจะบอกว่ากินสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อจะได้ไม่อ้วน น่าจะต้องคิดอีกครั้ง และการกินสารให้ความหวานแทนน้ำตาลคือการ break IF ด้วยเช่นกันนะครับและก็แน่นอนว่า

บทความนี้ไม่ได้สื่อว่าการกินสารให้ความหวานแทนน้ำตาลคือของอันตรายที่ห้ามทานอีกต่อไป ชีวิตก็คือชีวิตครับ เราต้องใช้ชีวิตอย่างมีความสูง การกินทุกอย่างๆพอดี คือสิ่งที่ควรทำครับหมอโจ้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *