เครื่องตรวจน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง (CGM) สำหรับคนที่ต้องควบคุมน้ำตาล

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล ที่ต้องการตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด หรือผู้ที่ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ไม่เป็นอันตรายสำหรับร่างกาย ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบเรียลไทม์เพียงแค่ดูผ่านสมาร์ทโฟนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยตลอดเวลา การใช้เทคโนโลยีนี้ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากน้ำตาลในเลือด และช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสามารถดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้เรียกว่า Continuous Glucose Monitoring (CGM)

CGM คืออะไร

CGM ย่อมาจาก Continuous Glucose Monitoring  เป็นเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่สามารถแสดงผลแบบเรียลไทม์ได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง CGM เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่อง โดยมีอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ติดบนผิวหนังเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถดูผ่านทางสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์รับข้อมูลที่แสดงผลข้อมูลนั้น CGM เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานหรือคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน นอกจากนี้ CGM ยังมีฟังก์ชันการเตือนเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดออกนอกเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาให้ทันท่วงที

การตราจน้ำตาลมีอะไรบ้าง

  • Continuous Glucose Monitoring (CGM): เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง
  • การตรวจวัดน้ำตาลในปัสสาวะ (Urine Glucose Testing): เป็นวิธีการตรวจที่ไม่ได้ใช้มากนักเนื่องจากมีข้อจำกัดในความแม่นยำ และมีการใช้งานที่ไม่สะดวก
  • การตรวจเลือดด้วยเครื่องวัดน้ำตาลแบบเป็นพิเศษ (Blood Glucose Meter): ผู้ป่วยจะต้องเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และนำเลือดไปวัดด้วยเครื่องวัดน้ำตาล
  • Oral Glucose Tolerance Test (OGTT): เป็นการทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการวิเคราะห์ว่าร่างกายมีการดูดซึมน้ำตาลในเลือดอย่างเหมาะสมหรือไม่
  • HbA1C หรือ ฮีโมโกลบินเอ็มไอซี (Hemoglobin A1C) : เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มันเป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว

เปรียเทียบการวัดน้ำตาลวิธี CGM  และแบบอื่น

1.Continuous Glucose Monitoring (CGM)

  • ข้อดี:
    • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่องทั้งวัน 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถตรวจสอบแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างแม่นยำ
    • สามารถแจ้งเตือนเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำ
    • ช่วยในการวิเคราะห์ และวางแผนเพื่อปรับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาได้อย่างแม่นยำ
  • ข้อเสีย:
    • ต้องใช้เซนเซอร์ และอุปกรณ์เพิ่มเติมซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูง
    • อาจมีความไม่สะดวกในการสวมใส่เซนเซอร์ หรือการแก้ไขเซนเซอร์ใหม่เมื่อต้องการ
    • การแสดงผล และการตรวจวัดของเซนเซอร์อาจมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

2.การตรวจเลือดด้วยเครื่องวัดน้ำตาลแบบ (Blood Glucose Meter)

  • ข้อดี:
    • ใช้งานง่าย และสะดวก ผู้ใช้สามารถทำการตรวจวัดเองได้ที่บ้าน หรือที่ทำงานโดยไม่ต้องออกไปที่ห้องตรวจหรือโรงพยาบาล
    • ผลการวัดทันที ผู้ใช้สามารถทราบผลการวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ทันทีภายหลังการทดสอบ
    • ขนาดเล็กพกพาง่าย ส่วนใหญ่เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดมักมีขนาดเล็กพกพาง่าย ทำให้สามารถพกพาไปได้ทุกที่ และทุกเวลา
  • ข้อเสีย:
    • ไม่แม่นยำ ผลการวัดอาจมีความคลาดเคลื่อน
    • ความผิดพลาดจากปัจจัยภายนอก บางครั้งผลการวัดน้ำตาลในเลือดอาจมีความผิดพลาดจากปัจจัยภายนอก เช่น ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิของสภาพแวดล้อม หรือการเก็บรักษา
    • ต้องใช้เลือด การใช้เลือดในการตรวจวัดน้ำตาลในเลือดอาจทำให้บางคนรู้สึกไม่สบายหรือกังวลโดยเฉพาะผู้ที่มีความกลัวจากการเจาะเลือด

3. Oral Glucose Tolerance Test (OGTT)

  • ข้อดี:
    • ตรวจวัดการดูดซึมน้ำตาลอย่างละเอียดช่วยให้สามารถวัดความสามารถในการดูดซึมน้ำตาลในเลือดของร่างกายได้อย่างละเอียด
  • ข้อเสีย:
    • อาจจะไม่สะดวกเพราะต้องใช้เวลานานเนื่องเพราะต้องทดสอบในห้องปฏิบัติการ

4.การตรวจวัดน้ำตาลในปัสสาวะ (Urine Glucose Testing)

  • ข้อดี:
    • ราคาถูกวิธีการนี้มักมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการทดสอบน้ำตาลในเลือดโดยใช้เครื่องเจาะเลือด
    • ไม่ต้องใช้เลือดใช้แค่ปัสสาวะ
  • ข้อเสีย:
    • บางคนปัสสาวะไม่ออกในระหวางการตรวจ
    • ต้องตรวจที่ห้องปฏิบัติการ และรอผลนาน
    • สำหรับผู้เข้ารับการตรวจเพศหญิงถ้ามีประจำเดือนอาจจะลำบาก

5.HbA1C หรือ ฮีโมโกลบินเอ็มไอซี (Hemoglobin A1C)

  • ข้อดี:
    • เป็นการตรวจมาตราฐานในปัจจุบัน
    • ไม่ต้องอดอาหาร 6-8 ชั่วโมง ก่อนไปตรวจ
    • ราคาไม่แพง
  • ข้อเสีย:
    • ต้องตรวจที่โรงบาล
    • ใช้เวลานาน
    • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่ม

ผู้ที่เหมาะกับการใช้งาน CGM คือใคร

  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคอ้วน
  • ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงนิสัยการทานอาหาร

ข้อดีของ CGM คืออะไร

  1. การตรวจวัดแบบต่อเนื่อง: CGM ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจด้วยเลือดในระหว่างการใช้งานปกติ
  2. สามารถการสังเกตุแนวโน้ม: CGM ช่วยให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นแนวโน้มของระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว สามารถบอกได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดกำลังเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร
  3. การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติ: CGM สามารถกำหนดค่าเส้นขอบเขตสำหรับระดับน้ำตาลในเลือด และเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ใช้ตกลงนอกขอบเขตที่กำหนดไว้ CGM จะแจ้งเตือนผู้ใช้อัตโนมัติ
  4. ข้อมูลการสร้างกราฟ: CGM สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด และแสดงผลเป็นกราฟที่ชัดเจน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์แนวโน้ม และรู้จักปรับปรุงการควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ไม่ต้องจาะเลือด: การใช้ CGM ช่วยลดความต้องการในการเจาะเลือดสำหรับการทดสอบน้ำตาลในเลือดในระยะเวลาประมาณ ๆ 14 วันหรือมากกว่านั้น ซึ่งช่วยลดความไม่สะดวก และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการเจาะเลือดบ่อยครั้ง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *